ร่วมบุญ สัปดาห์พระพุทธศาสนาวิถีใหม่ อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา ผ่านช่องทางออนไลน์

                          เนื่องในสัปดาห์พุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ร่วมกับ NextGen Solution, KAAB House (ค๊าปเฮาท์) และกลุ่มบริษัทเซิร์ช  โดยมีพระมหา ดร.ณัฐพงษ์ ฐิตปญโญ (นาคถ้า) เป็นที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรม ในโครงการสัปดาห์พุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 1-6 กรกฏาคมนี้ ทางช่องทางเวียนเทียนออนไลน์ดอดคอม และเข้าพรรษาออนไลน์ดอดคอม เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีสาคัญทางพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปทำกิจกรรมที่วัด ให้ร่วมทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้ได้  สำหรับ เวียนเทียนออนไลน์ ครั้งที่ 2 ในวันอาสาฬหบูชา เพิ่มความหลากหลายจาก Character ให้เลือกตามวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ทั้งชายหญิง อีกทั้งเวียนเทียนครั้งนี้ไม่มีเหงา!! จะมาเป็นคู่ เป็นหมู่คณะ หรือพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัวเล็ก ครอบครัวใหญ่ ก็สามารถร่วมบุญในกิจกรรมเวียนเทียนออนไลน์ได้อย่างครบทุกคนสำคัญ

ส่วนเข้าพรรษาออนไลน์ มีกิจกรรมตามแนวทางปฏิบัติทางพุทธศาสนา โดยสามารถร่วมสวดมนต์ หล่อเทียนคุณธรรมซึ่งเป็นข้อธรรมมะในเรื่องมงคลชีวิต 38 ประการ ทั้งยังสามารถชวนเพื่อน Challenge และ Share โดยเลือก ปวารณาตนจะ งดเหล้าเข้าพรรษา หรือ ถือศีล ตามวันที่แต่ละคนสะดวก และในเช้าของวันที่ 6 ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ตลอดทั้งวัน จะมีกิจกรรมตักบาตรดอกไม้ โดยใช้ดอกเข้าพรรษา ถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้ง 8 ซึ่งเป็นประเพณีที่มีตำนานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีความเชื่อกันว่าการตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง ทำให้ชีวิตมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข

          พุทธศาสนิกชนที่สนใจสามารถเข้าไปร่วมกิจกรรมได้ดังนี้

วันที่ 1-6 กรกฎาคม 2563 กิจกรรม “เวียนเทียนออนไลน์ดอทคอม” วันอาสาฬหบูชา

กิจกรรม “เข้าพรรษาออนไลน์ดอทคอม” ซึ่งมีกิจกรรมให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมปฏิบัติ 2 กิจกรรม คือ

     – วันที่ 1-5 กรกฎาคม 2563 สามารถร่วมสวดมนต์ หล่อเทียนคุณธรรม ปวารณาตนงดเหล้าเข้าพรรษา หรือถือศีลห้า พร้อม Challenge และ Share ไปในช่องทางโซเชียลต่างๆ

     – วันที่ 6 กรกฏาคม ตั้งแต่เวลา 09.09 .ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษาจะเป็นกิจกรรมตักบาตรดอกไม้ โดยใช้ดอกเข้าพรรษา ถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้ง 8

ข้อมูลประกอบข่าวประชาสัมพันธ

วันอาสาฬหบูชา

ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นอีกหนึ่งวันสาคัญทางศาสนาพุทธ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่

 – เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนา

 – เป็นวันที่เกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นองค์แรกในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ จากการที่ท่านรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน

 – เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวก คือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

 – เป็นครั้งแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจาอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝน เป็นเวลา ๓ เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น การเข้าพรรษาจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา

ในวันเข้าพรรษา และช่วงฤดูพรรษา พุทธศาสนิกชนจะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ ใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา รวมถึงการถวายเทียนเข้าพรรษา หรือหลอดไฟ ผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสาหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จาพรรษา นอกจากนี้เมื่อปี ๒๕๕๑ รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษา และตลอด ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา

การหล่อเทียน

การหล่อเทียนเข้าพรรษา ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ มักทำก่อนวันเข้าพรรษา เนื่องจากในช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นจึงมีความจำเป็นต้องใช้เทียนในการจุดบูชาให้ได้ตลอด พุทธศาสนิกชนจึงหล่อเทียนเพื่อนำไปถวายพระ เรียกว่า “เทียนพรรษา” อานิสงส์ของการถวายเทียน มีความเชื่อว่า จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญาดี สว่างไสวดั่งแสงเทียน

ประเพณีตักบาตรดอกไม

เป็นประเพณีที่มีตำนานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีความเชื่อกันว่าการตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง ทำให้ชีวิตมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ปัจจุบันปรากฏเป็นประเพณีถือปฏิบัติในวันเข้าพรรษาที่วัดหลายแห่ง รวมถึงเป็นประเพณีประจำปีของจังหวัดสระบุรี จัดที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท

ในช่วงฤดูฝน ที่ใกล้กับวันเข้าพรรษา จะมีดอกไม้ท้องถิ่นชนิดหนึ่ง (ดอกหงส์เหิน) ออกดอกในช่วงเวลานี้พอดี ชาวบ้านจึงเรียกว่า ดอกไม้นี้ว่า “ดอกเข้าพรรษา” และพร้อมใจกันนาดอกเข้าพรรษานี้มาถวายพระสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นประจำทุกๆ ปี รวมถึงกำหนดให้วันเข้าพรรษา วันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ ของทุกปี เป็นประเพณีตักบาตรดอกไม้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้ง 8

• องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ คือ ผู้ตรัสรู้อย่างรู้แจ้งสรรพธรรม กล่าวคืออริยสัจธรรม๔ ประการด้วยพระองค์เอง ด้วยอำนาจการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คือผู้ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์แบบ

• พระอรหันต์องค์ที่ ๑ : พระอัญญาโกณฑัญญะ (พระอรหันต์ประจำทิศบูรพา ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านรัตตัญญู)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๒ : พระควัมปติ (พระอรหันต์ประจำทิศพายัพ ภิกษุผู้ห้ามน้ำท่วมตามพุทธบัญชา)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๓ : พระสารีบุตร (พระอรหันต์ประจำทิศทักษิณ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านมีปัญญามาก)

• พระอรหันต์องค์ที ๔ : พระมหาโมคคัลลานะ (พระอรหันต์ประจำทิศอุดร ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านมีฤทธ์มาก)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๕ : พระมหากัสสปะ (พระอรหันต์ประจำทิศอาคเนย์ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านธุดงค์)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๖ : พระราหุล (พระอรหันต์ประจำทิศอีสาน ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๗ : พระอานนท์ (พระอรหันต์ประจำทิศปัจฉิม ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า)

• พระอรหันต์องค์ที่ ๘ : พระอุบาลี (พระอรหันต์ประจำทิศหรดี ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านวินัย)

มงคลชีวิต ๓๘  ประการ

    ๑. การไม่คบคนพาล

    ๒. การคบบัณฑิต

    ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

    ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

    ๕. เคยทำบุญมาก่อน

    ๖. การตั้งตนชอบ

    ๗. ความเป็นพหูสูต

    ๘. การรอบรู้ในศิลปะ

    ๙. มีวินัยที่ดี

    ๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

    ๑๑.การบำรุงบิดามารดา

    ๑๒.การสงเคราะห์บุตร

    ๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา

    ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง

    ๑๕.การให้ทาน

    ๑๖.การประพฤติธรรม

    ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ

    ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

    ๑๙.ละเว้นจากบาป

   ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

   ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

   ๒๒.มีความเคารพ

   ๒๓.มีความถ่อมตน

   ๒๔.มีความสันโดษ

   ๒๕.มีความกตัญญู

   ๒๖.การฟังธรรมตามกาล

   ๒๗.มีความอดทน

   ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย

   ๒๙.การได้เห็นสมณะ

   ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

   ๓๑.การบำเพ็ญตบะ

   ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์

   ๓๓.การเห็นอริยสัจ

   ๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

  ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

  ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก

  ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

  ๓๘.มีจิตเกษม